วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โครงการ การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม เชิงวิชาการด้านเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาอย่างยั่งยืน ด้วยการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ระหว่างวันที่ 8-9 พฤษภาคม 2555 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จ.ราชบุรี ในการอบรมครั้งนี้
วิทยากรให้ความรู้เรื่องแผนการสอน  ผศ.ดร.วิวรรธน์  จันทร์เทพย์ (อ.วรรธน์)
วิทยากรให้ความรู้เรื่อง Weblog          อ.สุจิตตรา จันทร์ลอย (อ.แจ๊ค)
                                                          อ.สุธิดา  ชูเกียรติ (อ.แอม)
โดยโรงเรียนที่เข้ารับการอบรม ได้แก่
1. โรงเรียนเทศบาลวัดโชค (ธรรมเสนานีวรคุณ)
2. โรงเรียนอนุบาลบางแพ
แผนกอิเล็กทรอนิกส์  วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี
Department of Computer Education

ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาก่อตั้งในปี พ . ศ . 2534 ในปัจจุบันมีคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิมากกว่า 10 ท่านซึ่งล้วนเป็นผู้มีเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ เป็นที่ยอมรับ ในระดับประเทศ ภาควิชาเสนอหลักสูตรตั้งแต่ระดับบัณฑิตศึกษาสาขาเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ ปริญญามหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แขนงคอมพิวเตอร์ ศึกษา และแขนงเทคโนโลยีมัลติมีเดีย จนถึง ปริญญาดุษฎีมหาบัณฑิตสาขา คอมพิวเตอร์ศึกษาเน้นสาขาวิจัยด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนแบบปัญญาประดิษฐ์ การสร้างสื่อประสม คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ การประมวลผลภาพ ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา ระบบเครือข่าย วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ระบบศึกษาบันเทิง เป็นต้น นอกจากนั้นภาควิชายังมีความ พร้อมสูงทั้งด้านฐานความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย สามารถสร้างบัณฑิตที่มี ความพร้อม และ ความสามารถสูง เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา รวมถึงมีความร่วมมือ ทั้งในระดับประเทศ และ นานาชาติ ตลอดจนภาคธุรกิจต่าง ๆ อีกทั้งยังมีแหล่ง ทุนการศึกษาด้วย ปัจจุบันมีนิสิตเก่ามากกว่า 2,000 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นกำลังสำคัญ ให้กับองค์กรต่าง ๆ ในวงการคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศของประเทศไทย



อ่านเพิ่มเติม>>>>

เทคโนโลยีสารสนเทศ


เทคโนโลยีสารสนเทศ



บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ


ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา


อ่านเพิ่มเติม>>>>

แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ศิลปะมีคุณค่า เพิ่มราคาของเหลือใช้


แผนการจัดการเรียนรู้
เรื่อง ศิลปะมีคุณค่า  เพิ่มราคาของเหลือใช้
จำนวน 1 ชั่วโมง

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สำรวจสภาพปัญหาและเสนอแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งของเหลือใช้ในชุมชน

สาระการเรียนรู้
          1.   การสำรวจปัญหาความสะอาดในโรงเรียน
          2.   แนวทางการแก้ปัญหาของสิ่งของเหลือใช้ในโรงเรียน
          3.   สร้างสรรค์งานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ ให้เกิดประโยชน์และเพิ่มมูลค่า

ความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้
          1.   ศิลปะ
          2.   คณิตศาสตร์
          3.   วิทยาศาสตร์
          4.   สังคมศึกษาฯ

การบูรณาการกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
          1.  ความพอเพียง
              1.1   ความพอประมาณ
                      ได้สำรวจวัสดุและสิ่งของเหลือใช้ในโรงเรียนของตนเอง มีความพอประมาณในการใช้สิ่งของเหลือใช้ให้เหมาะสมกับงานศิลปะที่สร้างสรรค์
              1.2   ความมีเหตุมีผล
                      คำนึงถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้วัสดุและสิ่งของเหลือที่มีอยู่ในโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
              1.3   การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
                      รู้จักคุณค่าของสิ่งของเหลือใช้ ตลอดจนช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดและเพิ่มคุณค่าของสิ่งของเหลือใช้ในโรงเรียน
          2.  คุณธรรมกำกับความรู้
              2.1   เงื่อนไขคุณธรรม
                      มีความตระหนักในการรักษาความสะอาด (การใช้สติปัญญาในการเพิ่มมูลค่าขยะหรือสิ่งของเหลือใช้) ความสามัคคี การมีจิตสาธารณะ
              2.2   เงื่อนไขความรู้
                      ทราบปัญหาและแนวทางการแก้ปัญญาในเรื่องความสะอาด เมื่อนำวัสดุหรือสิ่งของเหลือใช้ในสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อเพิ่มมูลค่า


กิจกรรมการเรียนรู้
          ขั้นนำ
          1.   ครูนำผลงานศิลปะจากสิ่งของเหลือใช้ มาแสดงให้นักเรียนดู
          2.   ครูอธิบายถึงที่มาของงานศิลปะเหล่านั้น
          3.   ครูอธิบายถึงการจำหน่ายงานศิลปะเหล่านั้น
          ขั้นให้ประสบการณ์
          1.   ครูนำผลงานศิลปะจากสิ่งของเหลือใช้ มาแสดงให้นักเรียนดู และแสดงความคิดเห็น
          2.   แบ่งกลุ่มให้นักเรียนศึกษาการสร้างสรรค์งานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้จาก Weblog เรื่องการสร้างสรรค์งานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้
          3.   นักเรียนอภิปรายถึงงานศิลปะในหัวข้อต่อไปนี้
              3.1   ในโรงเรียนของนักเรียนมีสิ่งของเหลือใช้อะไรบ้าง
              3.2   สิ่งของเหลือใช้ที่มีอยู่มีลักษณะอย่างไร
              3.3   ถ้านักเรียนใช้สิ่งของเหลือใช้ที่มีอยู่ในโรงเรียนมาสร้างสรรค์งานศิลปะ จะทำได้อย่างไร
          4.   นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลการอภิปรายตามประเด็นที่ศึกษา
          5.   ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้
          6.   นักเรียนนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
ขั้นสรุป
          นักเรียนและครูร่วมกันสรุปว่าการสร้างสรรค์งานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ และคุ้มค่าก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความสวยงามมากที่สุด ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม เพื่อใช้ในโอกาสต่อไปในอนาคตที่ยาวนานและยั่งยืน ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีเป็นอย่างยิ่ง

สื่อ
          1.   Weblog เรื่อง การสร้างสรรค์งานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้
          2.   กรอบรูปจากวัสดุเหลือใช้

แหล่งเรียนรู้
          1.   Weblog เรื่อง การสร้างสรรค์งานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้
          2.   สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน

การวัดและประเมินผล
          วิธีการวัดและประเมินผล
          1.   สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
          2.   ตรวจผลงาน
          เครื่องมือวัดผล
          1.   แบบสังเกตพฤติกรรม
          2.   แบบตรวจผลงาน


          เกณฑ์การประเมินผล
          11 12 คะแนน                   อยู่ในเกณฑ์       ดี
          9 – 10 คะแนน                     อยู่ในเกณฑ์       พอใช้
          ต่ำกว่า 8 คะแนน                   อยู่ในเกณฑ์       ปรับปรุง
          ได้ระดับพอใช้ขึ้นไปถือว่าผ่าน


จัดทำโดย  กลุ่ม สองวัย ณ วัดโชคฯ

1.  นายโสภณ       แดงประดับ 
2.  นายต่อศักดิ์     ศิวิลัย         
3.  นางซ่อนกลิ่น   นุตตะโร     
4.  นายวสันต์        แสงรัตนกูล
5.  นายพันธ์ลพ    คลังนาค    
6.  นางนันทวัน     ยะมะคุปต์